วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เพียงแค่เราได้พยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่ด้วยความจริงใจ กับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย องค์กรโดยรวมจะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้

บทความแปล
ในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1930 เพียงไม่นานหลังจากได้กลับมาจากการศึกษากระบวนการในโรงงานผลิตรถยนต์ที่ อเมริกาและยุโรป Kiichiro Toyoda ได้เลือกเอาพื้นที่มุมหนึ่งภายในโรงงานสร้างเครื่องจักรทอผ้าของเขา เพื่อเริ่มการศึกษาค้นคว้า ด้วยการรวบรวมเอาวิศวกรของเขามาร่วมกันทำงานกันโดยเริ่มจากเครื่องยนต์แก๊สโซลีนขนาดเล็ก ถึงแม้การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นตรงนั้นเกิดจากความพยายามด้วยความตั้งใจ แต่มันก็ไม่ง่ายนัก เมื่อทีมงานของเขาต้องเผชิญกับปัญหาจากการลองผิดลองถูกสารพัด ปัญหาแล้ว ปัญหาเล่านานนับปี แต่ด้วยความอดทนอดกลั้นงานของเขาก็เริ่มส่งผลเมื่อ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในขั้นทดลอง (prototype) รุ่น A1 ได้ถูกสร้างขึ้นจนสำเร็จในเดือนพฤษภาคมปี 1935 ซึ่งได้กลายมาเป็นรุ่น AA ในเวลาถัดมา
รถยนต์รุ่น AA ในปี 1936
ก่อนหน้าที่จะวางจำหน่ายรถรุ่น AA นี้ทางบริษัทิได้ทำการจัดประกวดแข่งขันออกแบบโลโก้ของ Toyoda ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 20,000 ทีเดียวที่ถูกส่งเข้ามาร่วมแข่งขัน ซึ่งผลจากการแข่งขันครั้งนั้นเองทำให้โลโก้ Toyoda ถูกเปลี่ยนเป็น Toyota ก่อนที่ความฝันของ Kiichiro จะได้เป็นจริงกับการปล่อยรถยนต์รุ่นนี้เข้าสู่ตลาดในเดือน กันยายน ปี 1936 และในอีกหนึ่งเดือนถัดมาชื่อของรถยนต์ก็ถูกเปลี่ยนเป็น "kokusan Toyota goh" หรือ "รถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นภายในประเทศ" และมันก็ได้กลายเป็นรถยนต์คันแรกภายใต้ยี่ห้อ Toyota นั่นเอง

ในเดือนสิงหาคม ปี 1937 บริษัทิ Toyota Motor ก็ถูกจัดตั้งขึ้น และโรงงานแห่งแรกในเมือง Koromo-cho ก็ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลิตและส่งมอบรถยนต์จำนวนมาก ซื่งกลายมาเป็น Toyota City ในปัจจุบันนี้เอง โครงการนี้ได้แล้วเสร็จในเดือนกันยายนปีถัดมา และในพิธีเปิดโรงงานผลิตที่เมืองนี้นี่เองในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน Kiichiro ก็ได้กล่าวปฏิญาณตนว่าจะนำพาอุตสาหกรรมรถยนต์สู่ความยิ่งใหญ่ให้จงได้ และขณะที่ปราศัยกับพนักงานบริษัทิ Toyota Motor ในครั้งนั้นเอง เขาก็ได้กระตุ้นและส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำเพื่อตัวของพวกเขาเองและบริษัทิ เขาได้กล่าวว่า "การเพิกเฉยต่อภาระหน้าที่ของตน ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายต่อตนเอง ดังนั้นจงรับเอาความรับผิดชอบมาสู่ตนและเราก็จะสามารถยกระดับตัวเองขึ้นไปได้ เพียงแค่เราได้พยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่ด้วยความจริงใจ กับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย องค์กรโดยรวมจะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้"

ในเดือนทุกสิ่งที่พวกเขาได้ทำในองค์กรถูกเปรียบเสมือนโซ่ที่คล้องห่วงของกระบวนการแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ในฐานะสมาชิกของห่วงโซ่นี้ พวกเขาจะต้องสร้างห่วงของตัวเองให้แข็งแรง ซึ่งพวกเขาได้กระทำโดยการทำความเข้าใจในกระบวนการของตัวเอง เพื่อที่จะปรับปรุงห่วงของตัวเอง ให้ดียิ่งขึ้นพร้อมทั้งสามารถประสานกับห่วงอื่นให้เกิดประสิทธิผลโดยรวมตลอดทั้งห่วงโซ่เช่นกัน ซึ่งนั่นสำเร็จได้ด้วยการทำงานร่วมกันเป็นทีม และห่วงใยซึ่งกันและกัน ความแตกต่างแต่ไม่แตกแยกของพวกเขาคือสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวและก็สร้างความแข็งแรงให้กับโซ่ของพวกเขา ดังนั้นหากเราได้ลองทำตามที่ Kiichiro ได้บอกไว้ว่า ให้ทุ่มเทกับสิ่งที่เราได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ด้วยความจริงใจแล้วละก็ เราก็คงจะสามารถมีห่วงโซ่กระบวนการที่แข็งแรง และก็จะคงอยู่ตราบนานเท่านานเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น