วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทสรุปจากคำตอบของคำถาม 10 คำถาม (sum-up)

บทความที่เกี่ยวข้อง 1 http://lean-apprentice.blogspot.com/2007/09/value-stream.html

บทความที่เกี่ยวข้อง 2 http://lean-apprentice.blogspot.com/2007/09/10-value-stream-12.html

บทความที่เกี่ยวข้อง 3 http://lean-apprentice.blogspot.com/2007/09/10-value-stream-22.html

เอาละครับเข้าสู่บทสรุปซะที หลังจากรอมาร่วมเดือนทีเดียว เข้าเรื่องเลยนะครับ เอาอย่างง่ายๆ (ขอให้ท่านผู้อ่านย้อนไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้องก่อนหน้าก่อนนะครับ) บริษัทิ A ได้เชื้อเชิญผมไปช่วยวิเคราะห์ถึงกิจกรรมลีนที่เขาทำอยู่ แล้วลองช่วยแนะทีว่าจะให้เดินต่อไปทางไหน จากคำถามที่ได้ถามไปก็ทำให้ได้ทราบคำตอบมาพอเพียงที่จะแนะนำอะไรบางอย่างกับเขาได้
เอาแบบสั้นบรรทัดเดียวคือ "บริษัทิคุณมีความเพียรพยายามที่จะเดินเสาะหาทางลีนของคุณอย่างดีมากครับ แต่ผมว่าคุณขาดแผนงานที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นเลยครับ"

ข้อเสนอแนะของผมมีอยู่ 7 ข้อดังนี้
1. เจาะลงไปดูสิว่าคุณมี Value Stream ที่สำคัญอยู่เท่าไร ระบุมันออกมา (pareto) บ่งชี้ชัดๆ ว่าปัญหาเชิงธุรกิจของคุณคืออะไร ความปลอดภัยในการทำงานเอย ปัญหาคุณภาพเอย ปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบ ปัญหาเรื่องต้นทุน ปัญหาขาดแคลนทรัพยกร ปัญหาขาดความยืดหยุ่นในการตอบสนอง ปัญหาความพร้อมของทรัพยากร หรือปัญหาขวัญกำลังใจ หลังจากนั้นให้เผชิญหน้ากับมันอย่างจริง ๆ จัง ๆ

2. แต่งตั้งผู้กำกับดูแล Value Stream ออกมาดูแลและก็ปรับปรุง เป็นคนที่เข้าใจถึงกระบวนการทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง สามารถกระตุ้น รณรงค์ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานได้

3. ประสานงานกับลูกค้าเพื่อทำการปรับเรียบความต้องการของเขา ลดขั้นตอนความซับซ้อนในการจัดการกับคำสั่งซื้อ หรืออย่างน้อยก็ตั้ง Buffer (stock สินค้า) เพื่อเป็นเขื่อนกั้นคลื่นความต้องการของลูกค้า ความต้องการจะได้ถูกปรับเรียบหลังเขื่อนเพื่อเป็นประโยชน์ในกระบวนการของเราเอง

4. คำสั่งในการผลิตต้องถูกส่งจากหลังมาหน้า เพื่อผลิตตามความต้องการให้มากที่สุด สร้างมาตรฐานด้านปริมาณในการผลิตแต่ละครั้งเพื่อลดปัญหาความยุ่งยากในการสั่ง หรือนำเอาระบบดึงกับ kanban มาใช้เพื่อสร้างความสะดวกให้มากขึ้นไปอีกก็ย่อมได้

5. สร้างกระบวนการประกอบและขึ้นรูปให้ไหลลื่นต่อเนื่องกัน ขณะเดียวกันก็พยายามขจัดปัดเป่าเอาความสูญเปล่าออกไป (Valuable) เสริมสร้างประสิทธิภาพกระบวนการ(Capable)มีให้พอเพียง (Adequate) และพร้อมเพรียง (Available)ขณะที่หัดบริหารสร้างความยืดหยุ่นให้มากขึ้นอยู่เสมอ (Flexibility)

6. สร้างจังหวะการดึงให้สั้นแต่ถี่ เช่นเคยวางแผนการผลิตเป็นวัน ๆ ลองดูเป็นชั่วโมง หรือนาทีดูสิ ยิ่งเราเพิ่มความถี่ในการควบคุม และสร้างระบบให้ง่ายที่จะควบคุมให้มากเท่าไร เราก็จะพบว่าปัญหาต่างๆ จะถูกแก้ไขได้เร็วเท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องบริหารความยืดหยุ่นให้ได้ในระดับนั้นเช่นกัน ทั้งการผลิตและการจ่ายวัตถุดิบ


รูปภาพแสดงการใช้ heijunka ในการปรับเรียบและควบคุมจังหวะการดึงทุกๆ 15 นาที

7. ทำงานร่วมกับคู่ค้าของเรา อย่าเมินเฉย เพราะต้นทุนส่วนใหญ่เราอยู่กับเค้า ช่วยเค้าให้ได้รับความต้องการที่เรียบขึ้นเพื่อคู่ค้าของเราจะได้มีโอกาสหายใจได้มากขึ้น มีเวลาไปปรับปรุงงานให้ดีขึ้น และก็วางแผนส่งมอบงานให้เราได้ถี่ขึ้นและก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

ก็นั่นก็เป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้นเองผมคิดว่าหลายท่านมีไอเดียที่หลากหลายมากมาก อาจจะเหมือนหรือแตกต่างไปบ้างก็ตาม แต่ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้แหละจะช่วยให้บริษัทิได้กระโดดเข้ามาร่วมเดินทางมุ่งสู่ Lean Business System ได้ในระดับหนึ่งละ ดีกว่าที่จะเพียรพยายามปลุกปั่นให้ดำเนินงานไปตามแนวคิดโครงการลีนที่เกิดขึ้นจากความไม่ใส่ใจ ไม่เข้าใจ แต่ก็หวังผลอะไรบางอย่างที่แม้แต่ผู้ริเริ่มเองก็ยังสงสัย?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น