วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เดินสำรวจ Value Stream กับ 10 คำถามที่คุณควรถาม

บทความแปล
ผมได้มีโอกาสได้เดินสำรวจโรงงานหนึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (เป็นสิ่งที่เราชอบๆ กัน) บริษัทที่ผมได้เยี่ยมชมนั้นได้ขอให้ผมได้ช่วยวิจารณ์ดูถึงความพยายามในการทำลีนของเขา หลังจากเสร็จภารกิจ และกำลังเดินทางกลับ ผมก็ได้มีความรู้สึกว่า เอ..มันน่าจะมีวิธีการ หรือรายการอะไรบางอย่างที่จะช่วยให้พวกเราเข้าใจถึงเข้าใจถึงสภาพของกิจกรรมที่เราทำอยู่...



บ่อยครั้งเมื่อผมหรือคุณๆ ได้มาถคึงบริษัท ทางบริษัทก็มักจะเริ่มต้นด้วยการเข้าประชุมในห้องหับมิดชิด แล้วก็ให้ผู้บริหารระดับอาวุโสทำการร่ายยาว ถึงสรรพคุณขององค์กรไล่กันไปตั้งแต่ เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับบริษัท สิ่งที่เขากำลังพยายามทำอยู่เพื่อปรับปรุง รวมไปถึงความมุ่งมั่นในการจัดทำโปรแกรม "ลีน" แต่ทว่าหลังจากที่เริ่มได้ไม่นาน ผมก็มักจะต้องขออนุญาติขัดจังหวะ (อย่างสุภาพนะไม่ใช่โฮกฮาก) ว่าเราน่าที่จะเลื่อนเอาส่วนนี้ไปหลังจากที่เราได้เดินสำรวจกระบวนการอย่างคร่าวๆ ร่วมกันก่อน ผมก็มักจะแนะนำให้หยิบยกเอากลุ่มสินค้าขึ้นมาสักกล่มหนึ่ง (product family) และก็ลองเดินไปตามสายการผลิต หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า "สายธานแห่งคุณค่า" (บรื๋ออ) เอาภาษาประกิตก็คือ (Value Stream) ไล่ตั้งแต่ปลายสุดทางก่อนที่จะส่งมอบให้ลูกค้า อาจจะเอาสัก Shipping area ย้อนลงมาถึงกระบวนการรับงานเลยก็ได้ (Receiving) พร้อมกันระหว่างเดินผมก็จะตั้งคำถามสัก 10 ข้อดังนี้

1. "ปัญหาทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสินค้านี้คืออะไร" นั่นอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่านั้นจากรายการเหล่านี้ เช่น ผลตอบแทนการลงทุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ ขาดความสามารถที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าได้ทันตามต้องการ หรือ ขาดความยืดหยุ่นที่จะตอบสนองกับความต้องการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากบริษัทดังกล่าวยังไม่สามารถตอบคำถามแรกนี้ได้ เราก็คงไม่สามารถหาทางปรับปรุงได้ (เพราะไม่รู้ว่าจะต้องปรับปรุงอะไรนะสิ)

2. "ใครคือคนรับผิดชอบ Value Stream ของกลุ่มสินค้านี้" ถ้าหากว่าไม่มีใครรับผิดชอบในเรื่องใดๆ และทุกๆ คนรับผิดชอบในทุกๆ สิ่ง คงไม่มีทางที่จะปรับปรุงไปในทางที่ถูกที่ควรแน่แท้

3. "บริษัทได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าอย่างไร"

4. "กระบวนการไหนทำหน้าที่เป็นหัวรถจักร (Pacemaker) ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อน และได้รับการชักนำจากคำสั่งซึ้อของลูกค้าโดยตรง"

5. "ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการประกอบนั้นมีความสามารถ (capable) มีความพร้อม (available) มีเพียงพอ (adequate) และปราศจากความสูญเปล่า (waste free) เพียงใด"

6. "ในแต่ละขึ้นตอนของกระบวนการขึ้นรูปหรือเตรียมความพร้อมก่อนการประกอบนั้นมีความสามารถ (capable) มีความพร้อม (available) มีเพียงพอ (adequate) และปราศจากความสูญเปล่า (waste free) เพียงใด"

7. "คำสั่งซื้อหรือความต้องการของลูกค้านั้นถูกส่งผ่านจาก pacemaker ไปยังกระบวนการก่อนหน้า หรือต้นน้ำ (บรื๋อออ..ชื่อมัน..) ใน Value Stream อย่างไร"

8. "การจ่ายวัตถุดิบที่จำเป็นในสายการผลิตนั้นเป็นไปด้วยวิธีการใด"

9. "วัตถุดิบนั้นได้รับมาจากคู่ค้าด้วยวิธีการเช่นไร"

10. "บริษัทินั้นมีขึ้นตอนการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับลีน และกระตุ้นให้เขาเหล่านั้นนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร"


ซึ่งคงใช้เวลาเดินไปคุยไปเพิ่อตอบคำถามสิบข้อข้างต้นประมาณ 30 นาที ผมก็ได้รู้ในทุกเรื่องที่ผมควรจะรู้ เพียงพอที่จะกลับไปบอกกับผู้บริหารเขาว่าเขาอยู่ตรงไหนในขึ้นตอนสร้างความคืบหน้าของการสร้างระบบการผลิตแบบลีน ซึ่งการได้ไล่ไปตามกลุ่มสินค้าชนิดเดียวนั้น จากประสบการณ์มันบอกผมว่ากลุ่มสินค้าอื่นๆ นึ้นก็คงจะลอกแบบเดียวกันออกมา

ผมหวังว่าคุณคงจะเข้าใจ และก็ได้ไอเดียถึงวิธีการใช้คำถามในการช่วยกระตุ้นการพัฒนาต่อเนื่องสู่หนทางและรูปแบบการทำงานที่ลีนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งเมื่อคุณได้คำตอบของคำถามเหล่านั้นคุณก็คงจะพบว่ามันน่าสนใจเอา มากๆ เดี๋ยวผมจะได้นำเอาคำตอบมาลงไว้ให้ในไม่ช้า อดใจรอครับ

ผมคิดว่าหากคุณได้คำตอบของคำถามเหล่านี้ คุณก็คงพบว่ามันน่าสนใจมากทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น