วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

Lead Time ที่สั้นลงหมายถึงกำไรที่สูงขึ้น

เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด องค์กรจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด มีลูกค้าทั่วโลกมีความต้องการสิ่งของดีอย่างที่เขาต้องการ ในเวลาทีต้องการ และราคาที่ดีที่สุด ทุกอย่างอาจจะเรียกได้ว่า “ระดับโลก” เพราะเรากำลังซื้อขายกันข้ามโลกมากขึ้นๆ ในทุกด้านทั้งราคา คุณภาพ และความรวดเร็ว หนำซ้ำปัจจุบันลูกค้าก็พยายามสร้างอำนาจและความยืดหยุ่นให้มากสูงถึงขนาดอยากจะยกเลิกซื้อจากผู้ส่งมอบเมื่อไรก็ย่อมได้ (ความปรารถนา) การแข่งขันรุนแรงเช่นนี้กำลังทำให้มาตรฐานในอดีตกลายเป็นไม่เพียงพอสำหรับในปัจจุบัน และความสามารถที่พอเพียงในการแข่งในปัจจุบันก็คงจะไม่เพียงพอสำหรับการอยู่รอดในอนาคตเช่นกัน

หากเราพิจารณาตัวชี้วัดที่สำคัญในสายตาลูกค้า เมื่อก่อนในสายตาลูกค้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อ) อาจจะเพ่งเล็งเรื่องราคาเป็นสำคัญ แต่ไม่นานมานี้ลูกค้ากำลังให้ความสำคัญมากขึ้นกับอีกสองเรื่องคือคุณภาพ และการส่งมอบ เนื่องจากลูกค้าเริ่มเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว คุณภาพที่ต่ำต้อย และการส่งมอบที่เชื่อถือไม่ได้นั้นเป็นตัวการก่อปัญหาต้นทุนให้กับพวกเขาเช่นกัน อย่างเช่นคุณภาพที่ต่ำจะส่งผลไปยังการตรวจสอบที่มากเกินจำเป็น การคัดเลือกและการแก้ไขงาน รวมไปถึงปริมาณสินค้าคงคลังที่มากเกินเพื่อชดเชยกันของไม่ดี การผลิตที่อาจจะล่าช้าด้วยสิ่งของที่ซื้อมาด้อยคุณภาพ ไปจนถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างไม่เกิดประโยชน์ ในขณะที่การส่งมอบที่แย่มักจะต้องพาไปสู่การเร่งรัดงาน (กลายเป็นต้นทุน) ปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องเก็บเยอะขึ้นเพื่อรอของส่งมอบที่ไม่แน่นอน การผลิตเกินความจำเป็นทีกลายเป็นเงินจมและใช้ทรัพยากรอย่างไม่เกิดประโยชน์

ในขณะที่ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ในบทความนี้จะขอเอ่ยถึงระดับความสามารถในการส่งมอบที่มีผลต่อกำไรเท่านั้น โดยเมื่อพูดถึงเรื่องการส่งมอบอาจจะแบ่งได้เป็นสองเรื่องสำคัญคือ หนึ่ง ความสามารถในการส่งมอบตามที่รับปากหรือแจ้งลูกค้าไว้ (delivery commitments) ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายใน หรือภายนอกองค์กร และ สอง คือความสามารถในการรักษาระยะเวลาในการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อลูกค้าในต่ำที่สุด (at minimum)โดยประเด็นที่สองนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อองค์กรยิ่ง โดยในเนื่อหาถัดไปนี้จะได้ให้รายละเอียดว่าทำไมการที่องค์กรที่มีความสามารถเวลาในการตอบสนองน้อยกว่าคู่แข่งจะสามารถสร้างรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นเหนือคู่แข่งเช่นกัน

หากพิจารณาในแง่รายได้ ตัวอย่างในอุตสาหกรรมทั่วไป บริษัทล้วนพยายามที่นำระบบการส่งมอบแบบทันเวลา (JIT) จะมีเป้าหมายในการลดประมาณ ระดับในการสั่งซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน รวมถึงต้องการให้คู่ค้าผู้จำหน่ายนั้นสามารถยืดหยุ่นได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง หากเราเป็นผู้จำหน่ายที่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ตามรูปแบบความต้องการดังกล่าวได้นั่นย่อมได้เปรียบเหนือคู่แข่ง และลูกค้าเราย่อมเพิ่มสัดส่วนในการซื้อของจากเราเพิ่มขึ้นได้ หรือตัวอย่างในตลาดค้าปลีกก็จะพบว่าผู้จำหน่ายสินค้านั้นต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา รวมไปถึงแผนการตลาดที่ต้องการการตอบสนองจากผู้จำหน่ายอย่างรวดเร็ว นั่นทำให้การมีความสามารถในการตอบสนองที่เร็วกว่านั่นย่อมได้เปรียบ ตัวอย่างเช่นหากผู้จำหน่ายสามารถตอบสนองต่อแผนโปรโมชั่นของผู้จำหน่ายได้หรือแผนการแนะนำสินค้าใหม่สู่ตลาดได้ย่อมจะทำให้ผู้จำหน่ายนั้นสามารถที่จะยึดเอาตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวจากคู่แข่งได้อย่างง่ายดาย

และหากเราจะพิจารณาในแง่กำไร หรือต้นทุนที่ลดลงจากการเพิ่มความรวดเร็วในการผลิตและตอบสนองแล้วละก็ ทางที่ง่ายที่สุดที่จะอธิบายคือยกตัวอย่างในการแบ่งเวลาที่เร็วใช้ในการตอบสนองออกเป็นส่วนๆ แบบง่ายๆ คือเราอาจจะเสียเวลาไปกับ 1. การปรับตั้งเครื่องจักร กระบวนการ 2.เวลาในการผลิต 3.เวลาในการรอคอย 4.เวลาในการเคลื่อนย้ายงาน (เอาแค่4 ก็พอจริงๆ อาจะมีอีกเยอะ) จาก 4 ส่วนเราจะเห็นว่ามีแค่เวลาในการผลิตที่เรามีโอกาสที่จะแปลงสภาพสินค้าเราจากวัตถุดิบให้เข้าใกล้สภาพสินค้าที่ลูกค้าต้องการมากขึ้นเท่านั้น แต่ส่วนอื่น? แน่นอนตามหลักการลีน หากเราไม่ได้ใช้เวลาไปกับการเพิ่มคุณค่าแล้วละก็ หนีไม่พ้นเราใช้เวลาไปกับการเพิ่มต้นทุน โดยอาจจะยกตัวอย่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปกับการใช้เวลาได้ง่ายๆ ดังตารางข้างล่าง




จะเห็นชัดเจนว่าหากเราสามารถลดเวลาในการผลิต (lead time) จะทำให้ต้นทุนเราลดลงโดยอัตโนมัติ ในขณะที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรได้อีก นี่จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญที่องค์กรที่ต้องการนำลีนไปใช้จำเป็นต้องเฝ้าดูเวลาดังกล่าว และจัดการให้มั่นใจว่าเวลาอันมีค่านั้นถูกใช้อย่างเหมาะสมในการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าในสายตาลูกค้าเท่านั้น แล้วทุกวันนี้คุณรู้หรือยังว่าคู่แข่งของคุณมีความสามารถในการจัดการเวลาในการผลิตได้ดีแค่ไหน!! แล้วองค์กรคุณละ!!!?
 

tunwa

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น